วันอาทิตย์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

โครงงานคอมพิวเตอร์บูรณาการร่วมกับวิชาภาษาไทย

 

โครงงานคอมพิวเตอร์

เรื่อง

  สื่อเพื่อการศึกษาอาเซียน

                                                   


โดย

1.เด็กชายสหัสวรรษ ชมงาม เลขที่ 4

2. เด็กหญิงกาญจนา ได้เปรียบ เลขที่ 29

3. เด็กหญิงอัจฉรา สวาสนา เลขที่ 37

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1

เสนอ


1.อาจารย์กุลฤดี กฤษฤาหรรษ์

2.อาจารย์วสัน กฤษฤาหรรษ์

3.อาจารย์กิติกร กฤษฤาหรรษ์

โครงงานเล่มนี้เป็นส่วนประกอบ ของโครงงานคอมพิวเตอร์บูรณาการร่วมกับวิชาภาษาไทย รหัสวิชา ง23102 , ท23102


โรงเรียนไพศาลีพิทยา
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42








โครงงานเรื่อง สื่อเพื่อการศึกษาอาเซียน
ประเภทของโครงงาน โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา
ผู้จัดทำโครงงาน 
       1. เด็กชายสหัสวรรษ ชมงาม เลขที่ 4
       2. เด็กหญิงกาญจนา ได้เปรียบ เลขที่ 29
       3. เด็กหญิงอัจฉรา สวาสนา เลขที่ 37
เสนอ
1.ครูกุลฤดี กฤษฤาหรรษ์
2.ครูวสัน กฤษฤาหรรษ์
3.ครู กิติกร กฤษฤาหรรษ์


บทคัดย่อ
          การจัดทำครงงานในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ ให้ความรู้แก่ผู้ที่สนใจเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน  
คณะผู้จัดทาได้ดาเนินงานตามขั้นตอนที่ได้วางแผนไว้ และได้นำเสนอเผยแพร่ผลงานโดยการนำเสนอระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
          ผลการจัดทำโครงงาน พบว่า การพัฒนาเพื่อการศึกษาในเรื่องประชาคมอาเซียน ได้เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียนในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ได้รับความสนใจและเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านอย่างยิ่ง




กิตติกรรมประกาศ
          โครงงานฉบับนี้สาเร็จได้ด้วยความกรุณาของคณะผู้บริหารและคณะอาจารย์หมวดคอมพิวเตอร์ 
โรงเรียนไพศาลีพิทยา ซึ่งได้ให้คำปรึกษา ข้อชี้แนะ และความช่วยเหลือจนกระทั่ง
โครงงานสาเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี คณะผู้จัดทาขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงมา ณ ที่นี้
ขอกราบขอบพระคุณ อาจารย์ที่ปรึกษา ที่ให้ความกรุณาในการแก้ไข ข้อบกพร่องต่างๆ ของโครงงาน และให้ความรู้ ให้คำแนะนำทั้งให้กำลังใจ ท้ายสุดนี้คณะผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่า โครงงานนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาและเป็นที่น่าสนใจสาหรับผู้ที่สนใจต่อๆไป
                                                                                                                              คณะผู้จัดทำ




บทที่ 1
บทนำ


               ที่มาและความสำคัญของโครงงานในยุคโลกาภิวัฒน์ในปัจจุบันนี้สถานการณ์โลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ประเทศต่าง ๆ ให้ความสำคัญกับการรวมตัวกันในภูมิภาคเพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันระหว่างประเทศ อาเซียนจึงต้องปรับตัวให้เท่าทันสถานการณ์เพื่อให้สามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงกาหนดให้มีการสร้างประชาคมอาเซียนขึ้นมาที่ประกอบไปด้วย 3 เสาหลัก ได้แก่ ประชาคมการเมืองความมั่นคงอาเซียน ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ภายในปี 2563 ซึ่งต่อมาได้เลื่อนกำหนดเวลาสาหรับการรวมตัวกันให้เร็วขึ้นเป็นปี 2558
ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศสมาชิกประชาคมอาเซียน เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการก้าวสู่ประชาคมอาเซียนที่ส่งผลต่อด้านเศรษฐกิจ ด้านการเมือง วัฒนธรรม และ ความมั่นคง คณะผู้จัดทำเล็งเห็นความสำคัญจึงสร้างรายงานนี้ขึ้นมาเพื่อเป็นสื่อให้ความรู้แก่ผู้ที่สนใจเกี่ยวกับประชาคมอาเซียนได้เข้าใจและเห็นความสำคัญของประชาคมอาเซียน


วัตถุประสงค์

           1. เพื่อเป็นสื่อให้ความรู้แก่ผู้ที่สนใจเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน
           2. เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน 
           3.เพื่อคนที่สนใจในอาเซียนจะได้มีความรู้ด้านนี้

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

           1. ผู้สนใจมีความเข้าใจเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน
           2. ได้รับความรู้เกี่ยวกับการสร้างสื่อวีดีทัศน์
           3. ได้นาเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ได้อย่างมีคุณค่าและทาให้เกิดประโยชน์

แผนการดำเนินงาน

ตารางที่ 1 แผนการดำเนินงานรายงานขั้นตอนการดาเนินงานระยะเวลาในการดาเนินงาน
          1.คิดหัวข้อรายงานเพื่อนำเสนออาจารย์ที่ปรึกษา  มกราคม  2558
          2. ศึกษาค้นคว้ารวบรวมข้อมูล ที่เกี่ยวข้องกับรายงาน มกราคม  2558
          3. จัดทำโครงร่างรายงานเสนออาจารย์ที่ปรึกษา มกราคม 2558
          4. จัดทำรายงาน เรื่อง สื่อเพื่อการศึกษาอาเซียน มกราคม  2558
          5. เผยแพร่ผลงานผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มกราคม  2558
          6. สรุปรายงานรายงาน จัดทำรูปเล่ม  มกราคม  2558






บทที่ 2

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

              ในการจัดทำโครงงานคอมพิวเตอร์ พัฒนาสื่อเพื่อการศึกษาอาเซียน ให้ความรู้เกี่ยวกับ
ประชาคมอาเซียน คณะผู้จัดทาได้ศึกษาข้อมูล เอกสารที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
               2.1 ประชาคมอาเซียน
               2.2 การผลิตสื่อวีดีทัศน์เพื่อการประชาสัมพันธ์
               2.1 ประชาคมอาเซียน
        สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อังกฤษ: Association of South East Asian Nations) หรือ อาเซียน เป็นองค์กรทางภูมิรัฐศาสตร์และองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีประเทศสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศได้แก่ ไทย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย สิงคโปร์ บรูไน ลาว กัมพูชา เวียดนาม และพม่า อาเซียนมีพื้นที่ราว 4,435,670 ตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 590 ล้านคน ในปี พ.ศ. 2553 จีดีพีของประเทศสมาชิกรวมกันคิดเป็นมูลค่าราว 1.8 ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐ คิดเป็นลาดับที่ 9 ของโลกเรียงตามจีดีพี มีภาษาอังกฤษเป็นภาษาทางการอาเซียนมีจุดเริ่มต้นจากสมาคมอาสา ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2504 โดยไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ แต่ได้ถูกยกเลิกไปเมื่อไทยเสียดินแดนปราสาทพระวิหารให้กัมพูชาในปี พ.ศ. 2505 ต่อมาในปีพ.ศ. 2510 ได้มีการลงนามใน ปฏิญญากรุงเทพ อาเซียนได้ถือกาเนิดขึ้นโดยมีรัฐสมาชิกเริ่มต้น 5 ประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อความร่วมมือในการเพิ่มอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ การพัฒนาสังคม วัฒนธรรมในกลุ่มประเทศสมาชิก และการดำรงรักษาสันติภาพและความมั่นคงในภูมิภาค และเปิดโอกาสให้คลายข้อพิพาทระหว่างประเทศสมาชิกอย่างสันติ หลังจาก พ.ศ. 2527 เป็นต้นมา อาเซียนมีรัฐสมาชิกเพิ่มขึ้นจนมี 10 ประเทศในปัจจุบัน กฎบัตรอาเซียนได้มีการลงนามเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551 ซึ่งทาให้อาเซียนมีสถานะคล้ายกับสหภาพยุโรปมากยิ่งขึ้น เขตการค้าเสรีอาเซียนได้เริ่มประกาศใช้ตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2553 และกาลังก้าวสู่ความเป็นประชาคมอาเซียน ซึ่งจะประกอบด้วยสามด้าน คือ ประชาคมอาเซียนด้านการเมืองและความมั่นคง ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน
ในปี พ.ศ. 2558 สมาคมอาสาและปฏิญญากรุงเทพ
สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีจุดเริ่มต้นนับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2504 โดยประเทศไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ได้ร่วมกันจัดตั้ง สมาคมอาสา (ASA, Association of South East Asia) ขึ้นเพื่อการร่วมมือกันทาง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม แต่ดำเนินการได้เพียง 2 ปี ก็ต้องหยุดชะงักลง เนื่องจากความผกผันทางการเมืองระหว่างอินโดนีเซียและมาเลเซีย และการเสีย
ดินแดนปราสาทพระวิหารให้กัมพูชาของไทย จนเมื่ออินโดนีเซียและมาเลเซียฟื้นฟูสัมพันธภาพระหว่างกัน จึงได้มีการแสวงหาลู่ทางจัดตั้งองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจขึ้นในภูมิภาค "สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้" และถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยสมัยรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร โดยมีการลงนาม "ปฏิญญากรุงเทพ" ที่พระราชวังสราญรมย์
เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 ซึ่งลงนามโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสมาชิกก่อตั้ง
5 ประเทศ ได้แก่ อาดัม มาลิกแห่งอินโดนีเซีย, นาร์ซิโซ รามอสแห่งฟิลิปปินส์, อับดุล ราซัคแห่งมาเลเซีย, เอส. ราชารัตนัมแห่งสิงคโปร์ และถนัด คอมันตร์แห่งไทย ซึ่งถูกพิจารณาว่าเป็นบิดาผู้ก่อตั้งองค์กรในปัจจุบัน สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประกอบด้วยประเทศสมาชิกจานวน 10 ประเทศ คิดเป็นพื้นที่ประมาณ 4.5 ล้านตารางกิโลเมตร และมีประชากรประมาณ 560 ล้านคน (ข้อมูลในปี พ.ศ. 2549) ยอดเขาที่สูงสุดในภูมิภาค คือ ยอดเขาข่ากาโบราซีในประเทศสหภาพเมียนมาร์ ซึ่งมีความสูง 5,881 เมตร และมีอาณาเขตติดต่อกับจีน อินเดีย บังกลาเทศและประเทศสังเกตการณ์อาเซียน คือ ปาปัวนิวกินี ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีสภาพภูมิอากาศแบบร้อนชื้น อุณหภูมิอยู่ระหว่าง 27-36 °C พืชพรรณธรรมชาติเป็นป่าฝนเขตร้อน ซึ่งมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่สองของโลก ป่าดงดิบ ป่าเบญจพรรณ ป่าสน ป่าหาดทรายชายทะเล ป่าไม้ปลูก มีพืชเศรษฐกิจที่สาคัญ คือ ข้าว ข้าวโพด มันสาปะหลัง สับปะรด ยางพารา ปาล์มน้ามันและพริกไทย จากสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้มีการสรุปแนวทางของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไว้จานวนหกข้อ ดังนี้ ให้ความเคารพแก่เอกราช อานาจอธิปไตย ความเท่าเทียม บูรณภาพแห่งดินแดนและเอกลักษณ์ของชาติสมาชิกทั้งหมด รัฐสมาชิกแต่ละรัฐมีสิทธิที่จะปลอดจากการแทรกแซงจากภายนอกการรุกรานดินแดนและการบังคับขู่เข็ญจะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับกิจการภายในของรัฐสมาชิกอื่น ๆยอมรับในความแตกต่างระหว่างกัน หรือแก้ปัญหาระหว่างกันอย่างสันติประณามหรือไม่ยอมรับการคุกคามหรือการใช้กาลังให้ความร่วมมือระหว่างกันอย่างมีประสิทธิภาพ
อาเซียนหรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN : The Association of South East Asian Nations) ได้ก่อตั้งเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2510 โดยประเทศผู้ก่อตั้งอาเซียน คือ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ ต่อมาในปีพ.ศ.2527 บรูไน ดารุสซาลาม ได้เข้ามาเป็นสมาชิก ตามด้วยเวียดนามเข้ามาเป็นสมาชิกเมื่อ พ.ศ. 2538 ขณะที่พม่าและลาวเข้ามาเป็นสมาชิกใน พ.ศ.2540 และประเทศสุดท้ายคือกัมพูชา เข้าเป็นสมาชิกอาเซียน เมื่อ พ.ศ. 2542 ปัจจุบันอาเซียนมีประเทศสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ
              1.บรูไนดารุสซาลาม (Brunei Darussalam) 1.บรูไนดารุสาลาม ประเทศบรูไน มีชื่อเป็นทางการว่า "เนการาบรูไนดารุสซาลาม" มีเมือง "บันดาร์เสรีเบกาวัน" เป็นเมืองหลวง ถือเป็นประเทศที่มีขนาดไม่ใหญ่นัก เพราะมีพื้นที่ประมาณ 5,765 ตารางกิโลเมตร ปกครองด้วยระบบสมบูรณาญาสิทธิ
ราช โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข มีประชากร 381,371 คน (ข้อมูลปี พ.ศ.2550) โดยประชากรเกือบ 70% นับถือศาสนาอิสลาม และใช้ภาษามาเลย์เป็นภาษาราชการ
              2.ราชอาณาจักรกัมพูชา (Kingdom of Cambodia) เมืองหลวงคือ กรุงพนมเปญ เป็นประเทศที่มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศไทยทางทิศเหนือ และทิศตะวันตก มีพื้นที่ 181,035 ตารางกิโลเมตร หรือขนาดประมาณ 1 ใน 3 ของประเทศไทย มีประชากร 14 ล้านคน (ข้อมูลปี พ.ศ.2550) โดยประชากรกว่า 80% อาศัยอยู่ในชนบท 95% นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท ใช้ภาษาเขมรเป็นภาษาราชการ แต่ก็มีหลายคนที่พูดภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส และเวียดนามได้
              3.สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Republic of Indonesia) เมืองหลวงคือ จาการ์ตา ถือเป็นประเทศหมู่เกาะขนาดใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีพื้นที่ 1,919,440 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากถึง 240 ล้านคน (ข้อมูลปี พ.ศ.2553) โดย 61% อาศัยอยู่บนเกาะชวา ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม และใช้ภาษา Bahasa Indonesia เป็นภาษาราชการ
              4.สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) (The Lao People's Democratic Republic of Lao PDR) เมืองหลวงคือ เวียงจันทน์ ติดต่อกับประเทศไทยทางทิศตะวันตก โดยประเทศลาวมีพื้นที่ประมาณครึ่งหนึ่งของประเทศไทย คือ 236,800 ตารางกิโลเมตร พื้นที่กว่า 90% เป็นภูเขาและที่ราบสูง และไม่มีพื้นที่ส่วนใดติดทะเล ปัจจุบัน ปกครองด้วยระบอบสังคมนิยม โดยมีประชากร 6.4 ล้านคน ใช้ภาษาลาวเป็นภาษาหลัก แต่ก็มีคนที่พูดภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาฝรั่งเศสได้ ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ
              5.ประเทศมาเลเซีย (Malaysia) เมืองหลวงคือ กรุงกัวลาลัมเปอร์ เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในเขตศูนย์สูตร แบ่งเป็นมาเลเซียตะวันตกบคาบสมุทรมลายู และมาเลเซียตะวันออก ตั้งอยู่บนเกาะบอร์เนียว ทั้งประเทศมีพื้นที่ 329,758 ตารางกิโลเมตร จานวนประชากร 26.24 ล้านคน นับถือศาสนาอิสลามเป็น ศาสนาประจาชาติ ใช้ภาษา Bahasa Melayu เป็นภาษาราชการ
              6.สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (Republic of the Philippines) เมืองหลวงคือ กรุงมะนิลา ประกอบด้วยเกาะขนาดต่าง ๆ รวม 7,107 เกาะ โดยมีพื้นที่ดิน 298.170 ตารางกิโลเมตร มีประชากร 92 ล้านคน (ข้อมูลปี พ.ศ.2553) ส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ และเป็นประเทศที่มีประชากรนับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกเป็นอันดับ 4 ของโลก มีการใช้ภาษาในประเทศมากถึง 170 ภาษา แต่ใช้ภาษาอังกฤษ และภาษาตากาลอก เป็นภาษาราชการ
              7.สาธารณรัฐสิงคโปร์ ( The Republic of Singapore) เมืองหลวงคือ กรุงสิงคโปร์ ตั้งอยู่บนตำแหน่งยุทธศาสตร์ที่เป็นศูนย์กลางคมนาคมทางเรือของอาเซียน จึงเป็นประเทศที่มีการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจมากที่สุดในย่านนี้ แม้จะมีพื้นที่ราว 699 ตารางกิโลเมตรเท่านั้น มีประชากร 4.48 ล้านคน ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาทางการ แต่มีภาษามาเลย์เป็นภาษาประจาชาติ ปัจจุบันใช้การปกครองแบบสาธารณรัฐ (ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีสภาเดียว)
              8.ราชอาณาจักรไทย (Kingdom of Thailand) เมืองหลวงคือกรุงเทพมหานคร มีพื้นที่ 513,115.02 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วย 77 จังหวัด มีประชากร 65.4 ล้านคน (ข้อมูลปี พ.ศ.2553) ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ และใช้ภาษาไทยเป็นภาษาราชการ ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นองค์ประมุขของประเทศ
               9.สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (The Socialist Republic of Vietnam) เมืองหลวงคือ กรุงฮานอย มีพื้นที่ 331,689 ตารางกิโลเมตร จากการสารวจถึงเมื่อปี พ.ศ.2553 มีประชากรประมาณ 88 ล้านคน ประมาณ 25% อาศัยอยู่ในเขตเมือง ส่วนใหญ่ร้อยละ 70 นับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน ที่เหลือนับถือศาสนาคริสต์ ปัจจุบัน ปกครองด้วยระบอบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์
              10.สหภาพพม่า (Union of Myanmar) มีเมืองหลวงคือ เนปิดอว ติดต่อกับประเทศไทยทางทิศตะวันออก โดยทั้งประเทศมีพื้นที่ประมาณ 678,500 ตารางกิโลเมตร ประชากร 48 ล้านคน กว่า 90% นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท หรือหินยาน และใช้ภาษาพม่าเป็นภาษาราชการ
วัตถุประสงค์ในการก่อตั้งประชาคมอาเซียน
ประชาคมอาเซียน ก่อตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เริ่มแรกเพื่อสร้างสันติภาพในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อันนามาซึ่งเสถียรภาพทางการเมือง และความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม และเมื่อการค้าระหว่างประเทศในโลกมีแนวโน้มกีดกันการค้ารุนแรงขึ้น ทาให้อาเซียนได้หันมามุ่งเน้นกระชับและขยายความร่วมมือด้านเศรษฐกิจการค้าระหว่างกันมากขึ้น

วัตถุประสงค์หลักที่กำหนดไว้ในปฏิญญาอาเซียน (The ASEAN Declaration) มี 7 ประการ ดังนี้
           
              1. ส่งเสริมความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ความก้าวหน้าทางสังคมและวัฒนธรรม
              2. ส่งเสริมการมีเสถียรภาพ สันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาค
              3. ส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม วิชาการ วิทยาศาสตร์
และด้านการบริหาร
              4. ส่งเสริมความร่วมมือซึ่งกันและกันในการฝึกอบรมและการวิจัย
              5. ส่งเสริมความร่วมมือในด้านเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม การค้า การคมนาคม การสื่อสาร และปรับปรุงมาตรฐานการดารงชีวิต
              6. ส่งเสริมการมีหลักสูตรการศึกษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
              7. ส่งเสริมความร่วมมือกับองค์กรระดับภูมิภาคและองค์กรระหว่างประเทศ






บทที่ 3
อุปกรณ์และวิธีการดำเนินการ


การจัดทำโครงงานคอมพิวเตอร์ สื่อเพื่อการศึกษาอาเซียน คณะผู้จัดทาโครงงานมีวิธีการดำเนินงานโครงงาน ตามขั้นตอน ดังต่อไปนี้

 ขั้นตอนการดำเนินการ

             1. คิดหัวข้อรายงานเพื่อนาเสนออาจารย์ที่ปรึกษา 
             2. ศึกษาค้นคว้ารวบรวมข้อมูล ที่เกี่ยวข้องกับรายงาน
             3. จัดทำโครงร่างรายงานเสนออาจารย์ที่ปรึกษา
             4.จัดทำรายงาน เรื่อง สื่อเพื่อการศึกษาอาเซียน
             5. เผยแพร่ผลงานโดยการนาเสนอผ่านอินเทอร์เน็ต
             6. ทำเอกสารสรุปรายงาน

วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล

             1. ศึกษา เรื่อง ประชาคมอาเซียน 
             2. ค้นคว้า เรื่อง การทำงานรายงานเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน 






บทที่ 4

ผลการดำเนินงาน

         การจัดทำรายงานคอมพิวเตอร์พัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา เรื่อง สื่อเพื่อการศึกษาอาเซียน เนื้อหาเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน มีผลการดาเนินงานโครงงาน ดังนี้

ผลการพัฒนารายงาน

         การพัฒนาโครงงาน สื่อเพื่อการศึกษาอาเซียน เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน ที่ ประเทศไทยได้เข้าร่วม และจะก้าวสู่ประชาคมอาเซียนในพุทธศักราช 2558 นี้ คณะผู้จัดทาได้ดาเนินงานตามขั้นตอนการดาเนินงานที่ได้วางแผนไว้ และได้นาเสนอเผยแพร่ผลงานผ่านทางเครือข่ายระบบอินเทอร์เน็ตที่สามารถเข้าถึงได้ทุกเวลาและทุกสถานที่ เป็นแหล่งเรียนรู้ในโลกออนไลน์และรวดเร็วในการรับข้อมูล







บทที่ 5
สรุปผลการดำเนินงาน / ข้อเสนอแนะ

    การจัดทำรายงานคอมพิวเตอร์ สื่อเพื่อการศึกษาอาเซียน สามารถสรุปผลการดาเนินงานรายงานและข้อเสนอแนะ ดังนี้

การดำเนินงานจัดทำโครงงาน

               5.1.1 วัตถุประสงค์ของโครงงาน
                     1.เพื่อให้ความรู้แก่ผู้ที่สนใจเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน

 สรุปผลการดำเนินงานรายงาน

               การดำเนินงานรายงานนี้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้ คือ เพื่อเป็นสื่อให้ความรู้แก่ผู้ที่สนใจเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน สื่อเพื่อการศึกษาอาเซียน นำเสนอผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต อาเซียนที่จะเข้ามามีบทบาทในประเทศไทย เกี่ยวกับการศึกษาอาเซียน จึงเป็นสื่อที่มีประโยชน์ เป็นการนาซอฟต์แวร์มาพัฒนาประยุกต์ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์

ข้อเสนอแนะ

               1. ควรมีการจัดทาเนื้อหาของรายงานให้หลากหลายและมีเนื้อหาที่ออกมาหลายๆรูปแบบ




บรรณานุกรม

              ประชาคมอาเซียน.สืบค้นเมื่อ เดือน  มกราคม 2558 จากเว็บไซต์:http://th.wikipedia.org/wiki/ สมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
รู้จัก ประเทศอาเซียน ก่อนก้าวสู่ ประชาคมอาเซียน 2558.สืบค้นเมื่อ มกราคม 2558 จากเว็บไซต์:http://hilight.kapook.com/view/67028




ภาคผนวก







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น